18 สิงหาคม 2555

แน่ใจหรอว่าการ Capture ภาพบนหน้าจอ จะเป็นหลักฐานทาง Internet ที่เชื่อถือได้?

เห็นดราม่าหลายงานมัก Capture ภาพเป็นหลักฐาน เอาไว้เพิ่มความน่าเชื่อถือว่ามันชวนดราม่าจริงๆนะเออ คนกลุ่มนึงอาจจะหาว่าตัดต่อ แต่อีกหลายคนอาจจะเชื่อว่าเป็นของจริงก็เป็นได้

แต่รู้ไหมว่า มีวิธีสร้างเนื้อหาเท็จง่ายๆ แล้วค่อย Capture ภาพทีหลัง ไม่ต้องตัดต่อ ไม่มีสีภาพเพี้ยนๆไว้ให้จับผิดอย่างแน่นอน

วิธีเกรียนเบื้องต้น เหมาะสำหรับคนไม่ถนัดตัดต่อ ขอลองเอาตัวอย่างการโพสต์ของเพื่อนคนนึงมาโชว์ให้ดูก่อน :p

ข้อความที่ยังไม่ได้แก้ไขใดๆ เซนเซอร์ชื่อกับหน้าเพื่อนอย่างเดียว

สำหรับ Geek ก็คงพอเดาออกว่าทำยังไง เรากำลังโชว์ให้คนที่ไม่ Geek ดูว่า Capture ภาพอย่างเดียวอาจจะไม่พอ ลองมาดูกันดีกว่า


1. สำหรับ Chrome ให้กด Ctrl+Shift+I จะโผล่หน้าต่างตรงด้านล่างของ Browser แบบนี้


เอา Cursor เม้าส์วางบนโค้ดบรรทัดไหนก็จะแรเงาส่วนของเว็บไซต์ที่เกิดจากโค้ดส่วนนั้นได้ ลองเล่นดูๆ

2. ค่อยๆใช้เม้าส์ไล่โค้ดไปเรื่อยๆ บรรทัดไหนแรเงาส่วนที่เราต้องการก็คลิกมันเข้าไปเรื่อยๆ แรกๆมันจะแรเงาทั้งเพจ แล้วก็ค่อยๆแรเงาส่วนใหญ่ๆของเว็บ และก็เริ่มแรเงาตรงรายละเอียดมากขึ้น


3. แล้วก็ไล่ไปเรื่อยๆ ก็จะได้ดังภาพ แอบเหนื่อยอยู่เหมือนกัน


4. เมื่อเจอข้อความที่ต้องการแก้ไขแล้ว ก็ double click แล้วแก้เล้ยยยย


5. แก้เป็นอะไรดีน้า... แบบนี้ละกัน เสี้ยมๆ

เล่นประเด็นล้อๆกันในภาคนี่แหละ 5555


6. เมื่อแก้แล้ว ก็ลองมาดูการแสดงผลบนหน้าจริง

แก้ใหม่ ไร้รอยต่อ :p


นี่ยังแค่ระดับ Basic ถ้าเจอคนเทพๆเข้าไปแก้อะไรก็เกิดขึ้นได้ อาจจะถึงขนาดสร้างคอมเม้นดราม่าปลอมๆขึ้นมาเป็นสตอรี่ชงเองตบเอง แล้วพอเราเข้าไปดูแล้วก็หาไม่เจอ (แหงสิ ไม่ได้ Hack เข้าไปโพสต์ไว้จริงๆซะเมื่อไหร่) ก็อาจจะคิดว่าเจ้าตัวลบทิ้งไปแล้วก็เป็นได้ บลาๆๆ


จึงอยากเตือนผู้เสพดราม่าทุกท่านว่าหลักฐานบนโลกออนไลน์มันเชื่อถือไม่ได้เสมอไปนะ อย่างน้อยก็วิธีการ Capture ภาพเนี่ยแหละ :p